- กินอาหารให้ตรงเวลา ไม่กินจุบจิบ แบ่งเป็นมื้อน้อย ๆ วันละ4 – 5 มื้อได้ เคี้ยวอาหารช้า ๆ และเคี้ยวให้ละเอียด
**ย้ำไม่ควรกินอาหารก่อนนอน เพราะจะไปกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะได้
- ไม่กินอาหารปริมาณมาก อิ่มมากเกินไป เพราะจะทำให้มีกรดหลั่งออกมามากเกินควร หลีกเลี่ยงการดื่มนมบ่อย ๆ คนที่มีปัญหาการย่อยน้ำตาลในนม (แลคโตส) อาจเกิดอาการท้องอืด มีแกส ปวดท้อง ท้องเสียได้ เพราะระบบย่อยขาดเอ็นไซม์แลคเตสซึ่งใช้ย่อยน้ำตาลนม
- ไม่กินอาหารที่มีแก๊ส หรือก่อแก๊ส เช่น น้ำอัดลม ผลิตภัณฑ์จากถั่ว (เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง) และไม่ดื่มเครื่องดื่ม หรือกินอาหารที่ร้อนจัด จะทำให้ ไม่สบายท้องได้
- เลือกกินกินอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืช เช่น กล้วย มะละกอ แอปเปิล ซึ่งมีใยอาหารชนิดเพคตินมาก ช่วยป้องกันโรคกระเพาะ และมะเร็งในกระเพาะอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องเทศรสเผ็ดจัด
- เน้นกินผักใบเขียวจัดให้มากขึ้น ผักใบเขียวจัดมีวิตามิน K สูง จะช่วยให้แผลในกระเพาะหายเร็วขึ้น ป้องกันเลือดออกในกระเพาะ และช่วยเพิ่มการดูดซึมสารอาหาร ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะเชื้อเอช.ไพโลไร และป้องกันมะเร็งได้
- เลือกกินผัก-ผลไม้ที่มีเบตาแคโรทีนสูง เช่น แครอท ฟักทอง แคนตาลูป ร่างกายได้รับวิตามินซี ช่วยป้องกันเยื่อบุกระเพาะและลำไส้ ป้องกันการติดเชื้อ และเร่งให้แผลหายเร็วขึ้น
- เลี่ยงกาแฟทุกประเภท คอกาแฟทั้งหลาย พึงสดับตรับฟังไว้ กาแฟทั้งที่มีคาเฟอีนกลิ่นหอมยั่วยวน และไม่มีคาเฟอีน ควรหลีกเลี่ยง เพราะกาแฟจะไปกระตุ้นการหลั่งกรด ทำให้อาหารไม่ย่อย
- น้ำผลไม้ที่มีรสปรี้ยวทั้งหลาย เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว เป็นต้น เนื่องจากกรดไหลย้อนกลับทาง ทำให้เกิดอาการแสบร้อนในลิ้นปี่ได้
- เลี่ยงอาหาร… อาหารทอด อาหารมัน ๆ อาหารรสจัด (เค็ม เผ็ด เปรี้ยว) อาหารหมักดอง เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดการสะสมความร้อนในร่างกาย จะทำให้โรคหายยาก
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เบียร์ สุรา ไวน์ เพราะจะทำให้กระเพาะหลั่งกรดได้มากขึ้น (รวมทั้งงดสูบบุหรี่ด้วย)