เรื่องของเสียงที่ดังออกไปจากเสียงดนตรี มนุษย์ก็ยังได้ยินเสียงในธรรมชาติทั่วไปซึ่งบางครั้งเสียงที่มีความดังเกินไปก็อาจเป็นการรบกวนการดำเนินชีวิตได้ ในแวดวงวัสดุจึงได้มีการคิดค้นวัสดุแผ่นซับเสียงเพื่อการควบคุมเสียงขึ้น โดยทั่วไป ความแตกต่างของการใช้วัสดุแผ่นซับเสียงเพื่อควบคุมเสียงแบ่งเป็น 3 ลักษณะการใช้งาน ได้แก่
1. การดูดซับเสียง
2. การเก็บเสียง ซึ่งใช้สำหรับการควบคุมเสียงก้องและเสียงสะท้อนในห้องหรืออาคาร มีหลักการทำงานคือยอมให้เสียงผ่านเข้ามาในฉนวนและดูดซับพลังงานเสียง
3. การกันเสียง มีหลักการแตกต่างออกไปตรงที่จะไม่ยอมให้เสียงผ่านไปได้
วัสดุแผ่นซับเสียงทุกชนิดสามารถดูดซับเสียง ควบคุมเสียงสะท้อน และกันเสียงได้ในระดับที่แตกต่างกันไป วัสดุที่เป็นฉนวนดูดซับเสียงจะมีลักษณะเป็นเส้นใยหรือมีรูพรุนเพื่อให้เสียงเดินทางผ่านเข้าไปยังฉนวน ขณะเดียวกันก็จะดูดซับพลังงานเสียงไว้ส่วนหนึ่งทำให้เสียงที่ผ่านฉนวนออกมามีความแรงและคลื่นความถี่ลดลง ส่งผลให้เสียงนั้นเบาลงไปและพลังงานเสียงที่ถูกดูดซับเข้าไปจะถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นพลังงานรูปอื่น ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นพลังความร้อนที่ถูกดูดซับเข้าไปจะแสดงในรูปของค่าสัมประสิทธิ์การลดเสียง หรือ Noise Reduction Coefficient (NRC) ซึ่งเป็นตัวเลขที่จะระบุได้ถึงความสามารถในการดูดซับเสียงของวัสดุ โดยทั่วไปค่า NRC จะต้องมากกว่า 0.40 จึงจะถือว่าเป็นวัสดุดูดซับเสียง
เนื่องจากวัสดุแผ่นซับเสียงมีส่วนประกอบของฟิล์มเส้นด้ายที่แบนและใส ทำให้ผ้ามีความโปร่งใสแต่ยังดูดซับคลื่นเสียงได้ และมีคุณสมบัติกันไฟลาม ไม่ซีดจาง คงทน ต้านทานการขัดถู อ่อนตัวดี และมีความเสถียรด้านขนาด โดยเส้นด้ายแบนจะถูกนำไปทอรวมกับด้ายขนปุยในกระบวนการเฉพาะของผู้ผลิต ทั้งยังนำไปตัดเย็บได้ตามปกติ เหมาะสำหรับติดตั้งผนังกั้นส่วน และไว้ติดผนังซับเสียง